ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อน ภาษีความหวาน เฟส 3 จนไปถึงปี 2566 เพื่อช่วยเหลือแบ่งภาระค่าครอชีพและภาคเอกชนไม่ต้องผลักภาระไปยังผู้บริโภค นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ครม. เห็นชอบขยายปรับขึ้นภาษีความหวาน จนไปถึงวันที่ 31 มี.ค. 66 เพื่อช่วยเหลือภาระค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบัน และไม่ให้ภาคเอกชนไม่ต้องผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภค รวมถึงช่วยให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม มีระยะเวลาปรับตัวในการผลิตสินค้าความหวานด้วย
ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้จัดเก็บภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาลในสินค้าเครื่องดื่มตั้งแต่ปี 2560
เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาล มีเป้าหมายส่งเสริมสุขภาพผู้บริโภค จึงกำหนดโครงสร้างภาษีในอัตราแบบขั้นบันไดเฟสแรก ในวันที่ 16 ก.ย. 2560 ถึง 30 ก.ย. 2562 เฟส 2 เริ่มวันที่ 1 ต.ค. 2562 ถึง 30 ก.ย.2564
ตามกำหนดเดิมเฟสสามจะเริ่มในวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 30 ก.ย. 2566 ทว่าจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และปัญหาเศรษฐกิจ จึงขยายเวลาการปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานเฟส 3 ออกไป 1 ปี จากวันที่ 1 ต.ค. 2564 เป็นวันที่ 1 ต.ค.2565
นายอาคม กล่าวว่า หากปรับขึ้นภาษีน้ำตาลตามกำหนดเวลาเดิม อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เพราะผู้ประกอบการอาจต้องปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นตามภาษีที่เพิ่มสูง กรมสรรพสามิต จึงเสนอขยายเวลาการขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาล เฟส 3 ออกไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 ถึง 31 มี.ค.2566
กกต. อาจจะให้คำตอบว่า เลือกตั้งปี 2566 วันไหน โดยได้เตรียมแผนเลือกตั้งเป็นวันที่ 7 พ.ค. 66 ส่วนเปิดรับสมัคร ส.ส. 3-7 เม.ย.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กำหนดให้วันเลือกตั้ง 2566 เป็นวันที่ 7 พ.ค.66 และรับสมัครเลือกตั้งนายกในวันที่ 3-7 เม.ย. 66 ในการเตรียมแผน แผนการเลือกตั้งกรณีสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ ในวันที่ 23 มี.ค.2566 แล้ว ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน นับแต่วันที่สภาฯ สิ้นอายุ
สธ. ร่อนประกาศ ยกเลิกโควิดโรคติดต่ออันตราย 1 ต.ค.
กระทรวงสาธารณสุขร่อนประกาศ ยกเลิกโควิดโรคติดต่ออันตราย 1 ต.ค. ลดระดับให้เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ 2 ฉบับ ซึ่งได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 65 ประกอบด้วย 1)ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565 และ 2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับจะมีผลยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย แล้วกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป
โดยการยกเลิกโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายนี้ เนื่องมากจากสถานการณ์การระบาดทั่วโลก มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง การแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคในต่างประเทศก็มีแนวโน้มลดลง ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น จึงสมควรปรับมาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในประเทศและสถานการณ์ปัจจุบัน
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศบค.) ได้ติดตามและดำเนินการตามแผนงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด19 มาเป็นระยะ ซึ่งรวมถึงการจัดทำกรอบนโยบาย แนวปฏิบัติภายหลังโควิด19 ปรับสู่การเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง แนวปฏิบัติของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน เมื่อเข้าสู่ภาวะหลังการระบาดใหญ่ (Post-pandemic) ซึ่งที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ในวันที่ 23 ก.ย. 65 นี้ จะได้พิจารณาอนุมัติแนวดำเนินการต่างๆ ซึ่งได้เตรียมไว้เพื่อไปสู่ในทางปฏิบัติต่อไป
“ภายหลังโควิด19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง จะมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งด้านกฎหมาย กลไกการจัดการในภาพรวม การดำเนินการด้านสาธารณสุข ด้านการแพทย์ และการสื่อสารให้สังคมเกิดความเข้าใจ โดยมีเป้าหมายคือประชาชนอยู่กับโควิด19 ได้อย่างปลอดภัยและดำเนินชีวิตได้เป็นปกติซึ่งทั้งหมดนี้จะมีการพิจารณาในที่ประชุม ศบค.วันที่ 23 ก.ย. นี้” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การประกาศลดระดับโควิด19 สู่โรคติดต่อเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุข มีการผ่อนคลายทางนโยบายที่สอดคล้องกับที่ คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 65 ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกโควิด19 ออกจากกลุ่มโรคต้องห้าม หลังจากที่ถูกกำหนดให้เป็นโรคต้องห้ามสำหรับชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา โดยประกาศจะมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ส่วนรายละเอียดของแผนจัดการเลือกตั้งเบื้องต้นที่กกต.กำหนดนั้น นับจากวันที่ 23 มี.ค.66 ที่อายุสภาฯ สิ้นสุดลง โดยวันที่ 30 มี.ค.66 จะเป็นวันสุดท้ายที่คาดว่าพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ) ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้วันที่ 31 มี.ค. 66 กกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง และประกาศกำหนดวันรับสมัคร
แนะนำ : เคล็ดลับต่างๆ | เว็บรวมวิธีต่างๆ How to | จัดอันดับซีรีย์ | รีวิวครีม